วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2561

1.4.การคำนวณหาสเปกตรัม

การคำนวณ

ความยาวคลื่น (Wavelength)   l  (  แลมบ์ดา ) หมายถึง  ระยะทางที่คลื่นเคลื่อนที่ครบ  1  รอบพอดี  มีหน่วยเป็นเมตร ( m )  หรือหน่วยย่อยของเมตร  เช่น  นาโนเมตร (nm) โดย    1   nm  =   10-9  เมตร
ความถี่ของคลื่น     n  (นิว)  หมายถึง  จำนวนรอบของคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านจุดใดจุดหนึ่งในเวลา  1  วินาที 
มีหน่วยเป็นจำนวนรอบต่อวินาที หรือ เฮิร์ตซ์ ( Hertz)  หรือ  Hz
แอมปลิจูด ( Amplitude)  คือ  ความสูงของยอดคลื่น
คลื่นที่จะศึกษากันในที่นี้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นระหว่าง  380  ถึง  750  nmซึ่งเป็นช่วงคลื่นที่มีความยาวและความถี่ที่ประสาทตาของคนจะรับได
            นี้เรียกคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าช่วงดังกล่าวนี้ว่า  “แสงขาว (Visibel  light)”

            เมื่อให้แสงขาวส่องผ่านปริซึม  แสงขาวจะแยกออกเป็นแถบสีต่าง ๆ ต่อเนื่องกัน  7  สี  เหมือนสีรุ้ง คือ  สีม่วง  คราม  น้ำเงิน  เขียว  เหลือง  ส้ม  และแดง  นักวิทยาศาสตร์เรียกแถบสีต่อเนื่องกันทั้ง  7  สีนี้ว่า  “ สเปกตรัมของแสงสีขาว ”   ตาราง   แถบสีของสเปกตรัมของแสงขาว มักซ์  พลังค์ (Max  Planck)  นักวิทยาศาสตร์  ชาวเยอรมัน  ได้พบว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือแสงเป็นพลังงานรูปหนึ่งและพลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีส่วนสัมพันธ์กับความถี่และความยาวของคลื่นโดยสรุปเป็นกฎว่า            “  พลังงานของคลื่นแม่เหล็กแม่เหล็กไฟฟ้าจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความถี่ของคลื่นนั้น ”
เขียนเป็นความสัมพันธ์ได้ดังนี้                                             เมื่อ        E    =  พลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  (หน่วยเป็น จูล )E          =      h                                  h  =  ค่าคงที่ของพลังค์ ( Plank , constant)   =  6.625  x  10-34  Js                                                           =  ความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  (Hz  หรือ  s-1)
        =                  c  =   2.99 x  108  ms-1  หรือ  โดยประมาณ  c  =    3.0 x  108  ms-1   

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Chemistry Blogger Template by Ipietoon Blogger Template