วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2561

2.5.รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์


             ถ้าโมเลกุลประกอบด้วยอะตอมเพียง  2  อะตอม  จะมีรูปร่างเป็นเส้นตรง (Linear)  เสมอ  เช่น  H2  F2  Cl2  Br I2  N2  O2 HCl  HBr  HI  ... แต่ถ้าโมเลกุลประกอบด้วยอะตอมมากกว่า  2  อะตอม  รูปทรงเรขาคณิตของโมเลกุลจะเป็นไปได้หลายแบบ    การพิจารณาว่ารูปทรงเรขาคณิตของโมเลกุลเป็นอย่างไร  ให้เริ่มพิจารณาที่อะตอมกลางของโมเลกุล    โดยมีหลักการสำคัญดังต่อไปนี้
                1.  พิจารณาว่ามีพันธะรอบอะตอมกลางกี่พันธะ  (พันธะเดี่ยว  พันธะคู่  หรือพันธะสาม  นับเป็น  1  พันธะเท่ากัน)
                2.  พิจารณาว่ามีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวหรือไม่  ถ้ามีต้องดูว่ามีกี่คู่ 
                3.  นำโครงสร้างโมเลกุลที่ได้จากข้อ  1  และ  2  ใช้ร่วมกับทฤษฎีการผลักของคู่อิเล็กตรอน ( VSEPR ) เพื่อบอกรูปทรงเรขาคณิตของโมเลกุล

            ทฤษฎีการผลักของคู่อิเล็กตรอน (Valence Shell Electron Pair Repulsion  , VSEPR)   คิดค้นขึ้นโดย โรนัลด์ กิลเลสพาย และ เซอร์โรนัลด์ ซิดนีย์ ไนโฮล์ม เมื่อ พ.ศ. 2500 ใช้สำหรับทำนายรูปร่างหรือรูปทรงเรขาคณิตของโมเลกุลโคเวเลนต์   โดยดูจากจำนวนพันธะและอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว (Stearic number)  รอบอะตอมกลาง   จากสูตรโครงสร้างแบบลิวอิส  แล้วจำลองให้เป็นรูปทรงสามมิติ   โดยมีหลักการว่าอิเล็กตรอนรอบอะตอมกลาง    ทั้งอิเล็กตรอนที่สร้างพันธะและอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว  จะมีแรงผลักซึ่งกันและกันทำให้อยู่ห่างกันที่สุดเท่าที่จะทำได้   ทำให้มีมุมระหว่างพันธะที่เหมาะสม  จึงเกิดเป็นรูปทรงเรขาคณิตแบบต่าง ๆ ขึ้นมาได้
กำหนดสัญลักษณ์ ของโครงสร้างโมเลกุลตามทฤษฎี  VSEPR  ด้วยสูตร    AXE  (หรืออาจใช้ตัวอักษรอื่น  เช่น  ABE แต่ความหมายเดียวกัน)  ฉะนั้นเมื่อกล่าวว่าให้เขียนสัญลักษณ์  VSEPR   จึงหมายถึงให้เขียนสูตร  AXE  ว่าเป็นแบบใด  ตัวอักษรในสูตรมีความหมายดังนี้
A  =  อะตอมกลางของโมเลกุล
X  =  จำนวนพันธะรอบอะตอมกลาง (พันธะเดี่ยว  พันธะคู่  พันธะสาม  นับเป็น  1  พันธะเหมือนกัน)
E  =  จำนวนอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวของอะตอมกลาง (นับเป็นคู่ ๆ)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Chemistry Blogger Template by Ipietoon Blogger Template