การละลายของสารไอออนิก
สารไอออนิกเกิดจากการรวมตัวกันระหว่างไอออนบวกกับไอออนลบ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วไอออนทั้งสองจะมีแรงดึงดูดกันมาก(พันธะไอออนิก) การละลายเป็นการทำให้ไอออนแยกตัวออกจากกัน จึงต้องใช้พลังงานจำนวนมากเช่นกันไอออนจึงจะแยกตัวออกจากกันได้ ขณะที่ไอออนเข้ามารวมตัวกันป็นสารไอออนิกนั้น จะมีการคายพลังงานออกมาจำนวนหนึ่งที่เรียกว่าพลังงานโครงร่างผลึก (lattce energy) สารไอออนิกชนิดใดคายพลังงานโครงร่างผลึกออกมามาก พันธะไอออนิกก็จะมีความแข็งแรงมาก ถ้าจะทำให้ไอออนแยกออกจากกันก็จะต้องใช้พลังงานมากด้วย พลังงานดังกล่าวนี้มีผลต่อการละลายของสารไอออนิก การที่สารไอออนิกแต่ละชนิดมีสภาพการละลาย (solubility) แตกต่างกันก็ขึ้นอยู่กับพลังงานส่วนนี้ การละลายของสารไอออนิกจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อต้องให้พลังงานจำนวนเท่ากับพลังงานโครงร่างผลึกกลับเข้าไป ไอออนจึงจะแยกตัวออกจากกัน แต่เรามักจะเรียกสั้น ๆ ว่าพลังงานโครงร่างผลึก ดังสมการ
Na+(g) + Cl-(g) → NaCl(s) ; ΔH5 = -787 kJ/mol
หมายความว่าแรงดึงดูดระหว่าง Na+ กับ Cl- ที่รวมตัวกันอยู่ใน NaCl เมื่อคิดเป็นพลังงานจะมีค่าเท่ากับ 787 kJ/mol ฉะนั้นถ้าจะทำให้ผลึก NaCl จำนวน 1 โมล แยกตัวออกไปเป็น Na+ และ Cl- ในสภาวะก๊าซอย่างเดิมจึงต้องดูดพลังงาน 787 kJ/mol กลับเข้าไป ดังสมการ
NaCl(s) → Na+(g) + Cl-(g) ; ΔH5 = +787 kJ/mol
NaCl(s) → Na+(g) + Cl-(g) ; ΔH5 = +787 kJ/mol
พลังงานนี้ถ้าจะเรียกชื่อให้ถูกจะต้องเรียกว่า พลังงานเท่าพลังงานโครงร่างผลึก แต่มักจะเรียกสั้น ๆ ว่าพลังงานโครงร่างผลึกดังกล่าวมาแล้ว พลังงานนี้จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าสารไอออนิกละลายง่ายหรือยาก คือถ้ามีพลังงานโครงร่างผลึกมาก สารไอออนิกก็จะละลายยากจนอาจถึงขั้นที่ไม่ละลายก็ได้ (คำว่าไม่ละลายหมายความว่า ละลายได้น้อยกว่า 0.10 กรัม/น้ำ 100 กรัม)
การละลายของสารไอออนิกจะเกี่ยวข้องกับพลังงาน 2 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 ดูดพลังงานเท่าพลังงานโครงร่างผลึก เพื่อทำให้ไอออนบวกกับไอออนลบในผลึกแยกออกจากกัน เขียนสมการแสดงดังนี้
NaCl(s) + 787 kJ/mol → Na+(g) + Cl-(g)
แสดงด้วยสัญลักษณ์ ΔH จะใช้เครื่องหมายบวก ดังสมการ
NaCl(s) → Na+(g) + Cl-(g) ; ΔH1 = +787 kJ/mol
NaCl(s) → Na+(g) + Cl-(g) ; ΔH1 = +787 kJ/mol
ΔH ในกรณีนี้ใช้เครื่องหมายบวกเนื่องจากเป็นการดูดพลังงาน มีผลให้ NaCl(s) แยกออกจากกันกลายเป็น Na+ กับ Cl- อยู่ในภาวะแก๊ส (g) แต่ไม่ได้หมายความว่ากลายเป็นไอแล้วฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ แต่หมายความว่าไอออนทั้งสองแยกตัวออกจากกันเป็นอิสระ เคลื่อนที่ไปมาได้ด้วยตัวเองเพราะมีพลังงานสูงทำนองเดียวกับโมเลกุลของก๊าซต่าง ๆ แต่ภาวะดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่สั้นมากแล้วผ่านไปสู่ขั้นตอนต่อไปทันที่
พลังงานที่ใช้ในขั้นนี้ดูดเข้าไปจากสิ่งแวดล้อมที่อยู่ใกล้ที่สุด ได้แก่ความร้อนที่มีอยู่ในตัวทำละลาย จึงมีผลให้อุณหภูมิของระบบลดลง
ขั้นที่ 2 คายพลังงานเมื่อโมเลกุลของตัวทำละลายเข้าล้อมรอบไอออน ถ้าตัวทำละลายคือน้ำ จะเรียกว่าพลังงานไฮเดรชัน (Hydration) ซึ่งสารไอออนิกส่วนมากก็จะละลายในน้ำ ถ้าตัวทำละลายเป็นสารอื่นจะเรียกพลังงานในขั้นนี้ว่า พลังงานโซลเวชัน (solvation) สารไอออนิกจะละลายในตัวทำละลายที่โมเลกุลมีขั้วไฟฟ้า เรียกกันว่าตัวทำละลายมีขั้ว (pola solvent) เช่น โมเลกุลของน้ำเป็นโมเลกุลที่มีขั้วไฟฟ้า ดังรูป
จากรูปแสดงว่าโมเลกุลของน้ำทางด้านอะตอมของ O มีขั้วไฟฟ้าเป็นขั้วลบ ส่วนทางด้านอะตอมของ H มีขั้วไฟฟ้าเป็นขั้วบวก ฉะนั้น Na+ เมื่ออยู่ในน้ำก็จะถูกล้อมรอบด้วยโมเลกุลของน้ำ โดยหันทางด้านอะตอมของ O เข้าหา ส่วน Cl- ก็จะถูกล้อมรอบด้วยโมเลกุลของน้ำโดยหันด้านอะตอมของ H เข้าหา (น้ำมีชื่อเดิมในภาษาละตินว่า aqua หรือ aqueous ) ฉะนั้นจึงใช้อักษรย่อ (aq) แสดงการละลายที่มีน้ำเป็นตัวทำละลาย เช่น สารละลายของโซเดียมคลอไรด์ในน้ำเขียนดังนี้ NaCl(aq) หรือ Na+(aq) + Cl-(aq)
โมเลกุลของน้ำซึ่งล้อมรอบ Na+ และ Cl- เกิดขึ้นทั้ง 3 มิติ ไม่มีจำนวนที่แน่นอนว่าแต่ละไอออนจะถูกล้อมรอบด้วยโมเลกุลของน้ำจำนวนเท่าใด ดังรูป
(คลิ้ก ชมการละลายน้ำของ NaCl)
(คลิ้ก ชมโมเลกุลของน้ำซึ่งล้อมรอบไอออนบวกและไอออนลบ)
(คลิ้ก ชมการละลายน้ำของ NaCl)
(คลิ้ก ชมโมเลกุลของน้ำซึ่งล้อมรอบไอออนบวกและไอออนลบ)
(คลิ้ก ชมการละลายน้ำของ NaCl)
ขณะที่โมเลกุลของน้ำเข้ามาล้อมรอบไอออนนั้น จะต้องมีการคายพลังงานออกมาจำนวนหนึ่ง เรียกพลังงานที่คายออกมานี้ว่าพลังงานไฮเดรชัน (Hydration) ดังสมการ
Na+(g) + Cl-(g) → Na+(aq) + Cl-(aq) + 769 kJ/mol
แสดงด้วยสัญลักษณ์ ΔH2 จะใช้เครื่องหมายลบ ดังสมการ
Na+(g) + Cl-(g) → Na+(aq) + Cl-(aq) ; ΔH2 = -769 kJ/mol
เมื่อนำพลังงานทั้ง 2 ขั้นตอนมารวมกัน (นำเครื่องหมายมาด้วย) ค่าที่ได้ เรียกว่าพลังงานของการละลาย (Heat of solution ; ΔHsol ) ดังนี้
ขั้นที่ 1 NaCl(s) → Na+(g) + Cl-(g) ; ΔH1 = + 787 kJ/mol
ขั้นที่ 2 Na+(g) + Cl-(g) → Na+(aq) + Cl-(aq) ; ΔH2 = -769 kJ/mol
ΔHsol = ΔH1 + ΔH2
= +787 +(-769)
= + 18 kJ/mol
สมการรวม Na(s) + Cl2(g) → NaCl(s) ; ΔHsol = + 18 kJ/mol
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น