จากการศึกษาสมบัติต่างๆ ของธาตุในตารางธาตุ เช่น ขนาดอะตอม พลังงานไอออไนเซชัน และค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี จะพบว่าสมบัติเหล่านี้มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงจากซ้ายไปขวาในแต่ละคาบ หรือจากบนลงล่างในแต่ละหมู่ค่อนข้างสม่ำเสมอ ต่อไปจะศึกษาสมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร โดยการศึกษาจุดหลอมเหลว จุดเดือดและความเป็นกรด - เบสของสารประกอบคลอไรด์และออกไซด์ของธาตุในคาบที่ 2 และ 3 จากข้อมูลในตางราง 3.1
ตาราง 3.1 สมบัติบางประการของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุในคาบที่ 2 และคาบที่ 3
ตาราง 3.1 สมบัติบางประการของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุในคาบที่ 2 และคาบที่ 3
สารประกอบคลอไรด์
ของธาตุ คาบที่ 2 ------------------------------สมบัติ | LiCl | | | | | | CIF | |
จุดหลอมเหลว (oC) | 605 | 405 | -107.3 | -23 | -40 | -20 | -154 | |
จุดเดือด(oC) | 1350-1360 | 520 | 12.5 | 76.8 | 71 | 3.8 (สลายตัว) | -101 | |
ความเป็นกรด-เบส ของสารละลาย | กลาง | กรต | กรต | ไม่ละลายน้ำ | ไม่ละลายน้ำ | กรต | กรต |
สารประกอบคลอไรด์
ของธาตุ คาบที่ 3 ------------------------------ สมบัติ | NaCl | | | | | | | |
จุดหลอมเหลว | 801 | 714 | 190* | -70 | -112 | -78 | -101 | |
จุดเดือด | 1465 | 1412 | 182.7** | 57.57 | 75.5 | 59 (สลายตัว) | -34.6 | |
ความเป็นกรด-เบส ของสารละลาย | กลาง | กลาง | กรต | กรต | กรต | กรต | กรต |
* ใช้ความดันทำให้หลอมเหลว
** ระเหิดก่อนหลอมเหลวที่ความดัน 1 บรรยากาศ
*** ปรากฎอยู่ในรูปโมเลกุลของธาตุ
- จุดหลอมเหลว จุดเดือด และความเป็นกรด - เบส ของสารประกอบคลอไรด์ของโลหะและอโลหะมีแนวโน้มอย่างไร
เมื่อพิจารณาจุดหลอมเหลวและจุดเดือดของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุในคาบที่ 2 และคาบที่ 3 พบว่าคลอไรด์ของโลหะมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูงเพราะสารประกอบเหล่านี้เป็นสารประกอบไอออนิก (ยกเว้น
นักเรียนคิดว่าสมบัติของสารประกอบคลอไรด์เหมือนหรือแตกต่างจากสมบัติของสารประกอบออกไซด์อย่างไร ให้พิจารณาจากตาราง 3.2
ตาราง 3.2 สมบัติบางประการของสารประกอบออกไซด์ของธาตุในคาบที่ 2 และคาบที่ 3
สารประกอบออกไซด์
ของธาตุ คาบที่ 2
---------------------------
สมบัติ
| BeO | ||||||
จุดหลอมเหลว | >1700 | 2530 | 460 | -56.6* | 30 | -218.4 | -224 |
จุดเดือด | 1200 ที่ 600 atm | ประมาณ 3900 | ประมาณ 1860 | -78.5** | 47 (สลายตัว) | -183 | -145 |
ความเป็นกรด-เบส ของสารละลาย | เบส | ไม่ ละลาย | ละลาย น้ำ เล็กน้อย | กรด | กรด | ละลาย น้ำ เล็กน้อย | กรด |
สารประกอบออกไซด์
ของธาตุ คาบที่ 3 ---------------------------
สมบัติ
| MgO | ||||||
จุดหลอมเหลว | 1275 (ระเหิด) | 2852 | 2072 | 1723 | 580-585* | -72.7 | -20 |
จุดเดือด | ไม่มี ข้อมูล | 3600 | 2980 | 2230 | 300** (ระเหิด) | -10 | 3.8 (สลายตัว) |
ความเป็นกรด-เบส ของสารละลาย | เบส | เบส | ไม่ละลาย น้ำ | ไม่ละลาย น้ำ | กรด | กรด | กรด |
* ใช้ความดันทำให้หลอมเหลว
** ระเหิดก่อนหลอมเหลวที่ความดัน 1 บรรยากาศ
*** ปรากฎอยู่ในรูปโมเลกุลของธาตุ
- จุดหลอมเหลว จุดเดือด และความเป็นกรด - เบส ของสารประกอบออกไซด์ของโลหะและอโลหะมีแนวโน้มเป็นอย่างไร
จากตาราง 3.2 พบว่าออกไซด์ของโลหะมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง เนื่องจากอนุภาคของสารยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะไอออนิก สำหรับออกไซด์ของอโลหะมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำ เพราะว่าอนุภาคยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงแวนเดอร์วาลส์ (ยกเว้น
เมื่อพิจารณาจุดหลอมเหลว จุดเดือด และความเป็นกรด - เบสของสารประกอบคลอไรด์และออกไซด์ของธาตุในคาบที่ 2 และคาบที่ 3 แล้วควรสรุปได้ว่า จุดหลอมเหลวและจุดเดือดของสารประกอบทั้งสองกลุ่มมีแนวโน้มคล้ายกันสำหรับคลอไรด์และออกไซด์ของโลหะที่ละลายน้ำจะได้สารละลายมีสมบัติเป็นกลางและเบสตามลำดับ ส่วนคลอไรด์และออกไซด์ของอโลหะเมื่อละลายน้ำจะได้สารละลายที่มีสมบัติเป็นกรด
เมื่อได้ศึกษาสมบัติเกี่ยวกับจุดหลอมเหลว จุดเดือดและความเป็นกรด - เบสของสารประกอบของธาตุตามคาบแล้วนักเรียนคิดว่าธาตุและสารประกอบของธาตุในหมู่เดียวกันจะแสดงสมบัติอื่นๆ เช่น การละลาย การเกิดปฏิกิริยาเคมีเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น